วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2550

หลังเสื้อสโลว์ดาวน์

เดินทอดน่อง ท่องชมธรรมชาติ ประกาศตนว่าช้า หาเวลานอนกลางวัน ฝันถึงโลกที่ดี กินอาหารที่ไม่เร่งผลิต ก่อนซื้ออะไรคิดสามครั้ง นั่งมองท้องฟ้า ดื่มน้ำชาสักป้าน อ่านกวีสักบท ลดเวลาดูทีวี มีความสุขกับปัจจุบัน สร้างสรรค์ชีวิตช้า...ช้า

ช้ า แ ล้ ว เ ป ลี่ ย น


When we are Slow, the World will be Change.

กิตติชัย งามชัยพิสิฐ สถาบันต้นกล้า

วัฒนธรรมแห่งความเร็ว

วันนี้เราสามารถติดต่อกับเพื่อนที่ห่างไกลในอีกโลกหนึ่งด้วยเวลาเพียงเสี้ยววินาที เรากินอาหารที่มาจากอีกซีกโลกได้โดยยังดูสดใหม่ เราสามารถทำกำไรจากธุรกรรมทางการเงินได้เพียงระยะเวลาไม่ถึงวัน เราไปหาเพื่อนที่อยู่ห่างไกลในชั่วเวลาเพียงข้ามวัน โลกของเราเปลี่ยนไปมาก ละครเรื่องใหม่ในทีวี หนังเรื่องใหม่ในโรงภาพยนตร์เปลี่ยนเวียนกันมาทุกสัปดาห์ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ โทรทัศน์ อาหาร หนังสือ ข่าวสาร เสื้อผ้า เครื่องดื่ม เปลี่ยนรุ่นใหม่แทบทุกวัน ทุกๆ อย่างดูรวดเร็วขึ้นทุกที และเราหลายคนก็ดูจะพึงพอใจในความเร็วที่ได้ ความเร็วดูจะมาคู่กับประสิทธิภาพอยู่เสมอ

แต่โลกอันรวดเร็วที่สามารถทำสิ่งต่างๆ ที่เคยใช้เวลาเป็นแรมเดือนลดลงมาเพียงข้ามวันหรือชั่ววินาทีนี้ เรากลับค้นพบว่ามันไม่ได้ทำให้ชีวิตเรามีเวลามากขึ้น ดูเหมือนว่าสิ่งต่างๆ ก็ยังเร็วไม่พอสำหรับเราอีกนั่นเอง เราอยากได้คอมพิวเตอร์ที่เร็วขึ้น ระบบสื่อสารทางอินเตอร์เน็ตที่เร็วขึ้น การเดินทางที่เร็วขึ้น อาหารจากอีกซีกโลกที่สดขึ้น ร่ำรวยเร็วมากขึ้น สินค้าออกใหม่เร็วขึ้น ราวกับว่าความเร็วเป็นคุณธรรมอันสำคัญที่เราต้องยึดถือปฏิบัติ

l เร็วเพราะระบบอุตสาหกรรม

ในโลกของอุตสาหกรรม การผลิตแบบสายพานที่จะต้องส่งต่อกันเป็นช่วงๆ ไม่ได้จำกัดอยู่แต่เพียงภาคการผลิตอีกต่อไปแล้ว ธุรกรรมต่างๆ ของเรามีต้นแบบมาจากระบบการผลิตแบบฟอร์ดที่กำเนิดในยุคแรกๆ ของอุตสาหกรรมนิยม เป็นการผลิตที่แต่ละคนต้องทำงานให้เสร็จและรับช่วงต่องานจากคนอื่นภายในเวลาที่กำหนด หากเราช้านั่นหมายถึงการกระทบต่อคนอื่นๆ ที่ต้องรับช่วงต่อจากเราและคนที่ต้องส่งต่อให้เรา

จังหวะในการทำงานจึงต้องกำหนดให้ชัดเจนและทำในเวลาที่กำหนดมาจากวิศวกรระบบ เราไม่สามารถกำหนดจังหวะการทำงานของเราเองได้ เพราะเราเองก็เป็นเพียงกลไกหนึ่งของระบบการทำงานอันใหญ่โต ที่หากเฟืองตัวไหนทำงานผิดปกติก็จะทำให้ระบบทั้งหมดรวน ซึ่งนั่นอาจหมายถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนเฟืองตัวนั้น!

จังหวะการทำงานที่รวดเร็วหมายถึงการผลิตที่รวดเร็ว การผลิตที่รวดเร็วหมายถึงการที่เราสามารถผลิตออกมาได้ก่อนคนอื่น มากกว่าคนอื่น แล้วเราก็จะเป็นผู้ชนะ...

ปัญหาอาจจะไม่ได้อยู่ระบบอุตสาหกรรม แต่อยู่ที่เรารับเอาวัฒนธรรมแบบอุตสาหกรรมมาใช้ในด้านอื่นๆ ของชีวิตโดยไม่รู้ตัวมากเกินไปหรือเปล่า?

l เร็วเพราะระบบตลาดแบบทุนนิยม

ตามหลักการสะสมทุน วิธีการหากำไรในภาคการผลิตมีอยู่สองแนวทาง แนวทางแรกไม่เน้นขายมากแต่กำไรต่อชิ้นสูง แนวทางที่สองคือกำไรต่อชิ้นสูงแต่ขายได้มากชิ้น คงไม่ต้องสงสัยว่าปัจจุบันบริษัทต่างๆ จะเลือกแนวทางที่สอง แนวทางที่สองเน้นไปที่การหมุนเวียนสินค้าเร็ว ได้เงินกลับมาเร็วเพื่อผลิตสินค้าใหม่ๆ ออกไปสู่ตลาดอีกครั้ง รวมทั้งสะสมไปขยายกิจการต่อไปได้อีก

เศรษฐกิจการตลาดภายใต้ระบบทุนนิยมนั้น การหมุนเวียนของสินค้าเป็นหัวใจสำคัญในการสะสมทุน การผลิตสินค้าที่คงทนนั่นหมายถึงหายนะของบริษัท เพราะจะไม่สามารถขายสินค้านั้นได้อีก หรือหากไม่เช่นนั้นก็ต้องเร่งการออกสินค้ารุ่นใหม่ให้เร็วขึ้น ลดการสนับสนุนสินค้าเก่าเพื่อให้ผู้บริโภคไม่สามารถใช้สินค้ารุ่นเก่าได้อีกต่อไปเพราะมันจะไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่เดี่ยวๆ ได้ ดังตัวอย่างของระบบคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือที่แม้จะยังใช้ได้แต่ก็ไม่สัมพันธ์กับผู้ใช้คนอื่นที่ใช้ซอฟต์แวร์ใหม่ๆ

ดังนั้นเราจึงได้ใช้ผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็วสมใจอยาก

l เร็วเพราะบริโภคนิยม

ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรมนิยมและทุนนิยม ได้สร้างวัฒนธรรมใหม่ในการดำรงชีวิตของผู้คน เป็นวัฒนธรรมของการผลิตในสิ่งที่ตนเองไม่ได้บริโภค และบริโภคในสิ่งที่ตนเองไม่ได้ผลิต การแยกส่วนเช่นนี้ก่อให้เกิดการผลิตและบริโภคที่บิดเบี้ยว ที่เรียกว่าวัฒนธรรมแบบบริโภคนิยม

เมื่อการบริโภคกับการผลิตแยกขาดจากกันผ่านตลาดที่แลกเปลี่ยนด้วยเงิน การบริโภคจึงกลายเป็นการแสวงหาความพึงพอใจจากการได้ครอบครองสินค้า ส่วนการผลิตกลับกลายเป็นความทุกข์ยากทั้งทางกายและใจ ผลิตเพราะจำเป็นต้องผลิตเพื่อให้ได้เงินมายังชีพและบริโภค มิใช่ผลิตเพื่อบริโภคหรือผลิตเพราะความภาคภูมิใจอีกต่อไป

การแยกขาดจากการผลิตหมายถึงการไม่รู้กระบวนการได้มาของสิ่งที่ตนเองบริโภคว่าใช้ทรัพยากรอะไรผลิต ผลิตอย่างไร ใครผลิต ฯลฯ เมื่อมนุษย์กลายเป็นผู้บริโภค เขาจึงมิได้แสวงหาเพียงความพึงพอใจจากคุณค่าในการใช้สอย แต่แสวงหาคุณค่าจากการได้ครอบครองและคุณค่าจากการสร้างตัวตนด้วย ซึ่งนั่นหมายถึงความปรารถนาการครอบครองและสร้างตัวตนมากขึ้นเรื่อยๆ

คุณค่าของการครอบครองและสร้างตัวตนกลายเป็นสิ่งที่บริษัทต่างๆ ใช้เป็นกลยุทธ์ในการสร้างกำไร สินค้าใหม่ๆ ออกมาไม่ขาดสาย ผู้บริโภคก็ซื้อมันอย่างรวดเร็วเช่นกัน ทรัพยากรมากมายถูกนำมาแปรรูปเป็นสินค้าเพื่อให้ผู้บริโภคได้บริโภค มิใช่เพื่อความอยู่รอดแต่เพื่อได้ครอบครองและสร้างคุณค่าแก่ตัวตนชั่วครั้งชั่วคราว

เมื่อผู้บริโภคแยกจากการผลิต พวกเขาไม่รู้ และส่วนใหญ่ก็ไม่สนใจว่าต้นทางของสินค้ามันจะมาจากไหน ทำลายสิ่งแวดล้อมหรือขูดรีดแรงงานเพียงไร เราสนใจแต่เพียงว่ามันให้ประโยชน์แก่เราได้เพียงไรต่างหาก

l เร็วเพราะจิตวิญญาณเปลี่ยนทิศทาง

เป้าหมายชีวิตของเราภายใต้อุตสาหกรรมนิยม คือการได้เข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมตามคำสอนและการฝึกฝนทักษะจากโรงเรียน ส่วนภายใต้ทุนนิยมคือความร่ำรวยพอที่จะขยับขยายทุนของตนให้ได้มากที่สุด ซึ่งก็โดยการแสวงหากำไรสูงสุด ในขณะที่เป้าหมายภายใต้วัฒนธรรมบริโภคนิยมของเราก็คือการได้ครอบครองสินค้าที่จะสามารถสร้างตัวตนของเราได้มากที่สุด

แล้วเป้าหมายอื่นของชีวิตเราล่ะ ในขณะที่เราวิ่งไล่ล่างาน ทำตามเป้าหมายบริษัท แสวงหาความร่ำรวยอย่างรวดเร็ว และไล่ตามสินค้าใหม่ๆ ชีวิตและจิตใจของเราไม่ได้อยู่ที่การแสวงหาความเข้าใจโลกและชีวิต

การศึกษา สังคมรอบข้าง หน้าที่การงานและการบริโภคของเรามุ่งไปสู่เป้าหมายอื่นที่ไม่ใช่เป้าหมายเพื่อชีวิตที่สงบ โลกที่เกื้อกูล เป็นธรรมและสันติสุข

วัฒนธรรมที่เต็มไปด้วยความรวดเร็วผลักและฉุดเราไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วจนเราไม่มีเวลาที่จะนิ่งพอในการสำรวจตัวเอง

จังหวะชีวิตของเราเต้นไปตามเข็มนาฬิกา ระยะเวลาของโครงการ การแข่งขันในตลาด การเคลื่อนไหวของหุ้น ตารางเวลารถออก แล้วจังหวะชีวิตของเราจริงๆ แล้วมันอยู่ที่ไหน

l เร็วเพราะใคร เร็วเพราะอะไร

จะเกินเลยไปหรือไม่ หากจะสรุปว่ามนุษย์ไม่ได้ปรารถนาความเร็วโดยธรรมชาติ แต่อยากเร็วเพราะถูกทำให้อยาก อยากเร็วเพราะถูกกดดันจากคนรอบข้างที่เร็ว

นั่นเพราะเราคงไม่อาจปฏิเสธอีกเช่นกันว่าความอยากเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ความอยากเอาชนะสิ่งต่างๆ ซึ่งเป็นที่มาของความอยากเร็วก็เป็นหนึ่งในความอยากของมนุษย์มานาน ดังนั้นคงไม่อาจบอกได้เต็มปากว่าเราอยากเร็วเพราะคนอื่น...

ถ้ามันเป็นไปได้ในสองทางแล้ว เราควรจะมีท่าทีอย่างไรกับความเร็วล่ะ?

  • วัฒนธรรมช้าแบบไทย

คงจะเกินเลยไปหากบอกว่าวัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมที่ช้าและดีงามโดยตัวของมันเอง แน่นอนว่าในแต่ละวัฒนธรรมคงจะมีปัญหาอยู่บ้างไม่เช่นนั้นวัฒนธรรมแห่งความเร็วคงไม่สามารถเข้ามามีอิทธิพลมากเกินดังทุกวันนี้ แต่ในที่นี้จะลองมาสำรวจต้นทุนทางสังคมของไทยว่าวัฒนธรรมไทยมีอะไรที่เหมือนหรือต่างกับวัฒนธรรมของความเร็วที่กำลังแผ่ขยายอยู่ทุกวันนี้ เผื่อว่าจะค้นพบการปฏิบัติการที่เหมาะสมกับเนื้อดินของไทยได้

l วัฒนธรรมแบบเกษตร

วิถีการผลิตแบบเกษตรกรรมเป็นการผลิตที่ขึ้นต่อธรรมชาติ การทำเกษตรนั้นต้องพึ่งพาลมฟ้าอากาศ ฤดูกาล และสรรพชีวิตทั้งหลาย มนุษย์ไม่สามารถกำหนดดินฟ้าอากาศได้ ก่อให้เกิดวัฒนธรรมที่ใช้ชีวิตตามจังหวะของธรรมชาติ เป็นวัฒนธรรมของการรอคอยและปรับตนให้เข้ากับธรรมชาติอันยิ่งใหญ่

ความร่วมมือของวีถีการผลิตแบบเกษตรเป็นความร่วมมือที่ไม่ขึ้นต่อกันแบบสายพานที่ต่อเป็นอนุกรม หากเป็นความร่วมมือแบบขนานที่ต่างก็สามารถทำหน้าที่หรือบทบาทตนเองได้ แล้วค่อยมารวมกันภายหลัง

การผลิตในวิถีชีวิตแบบเกษตรกรรมแต่ละคนสามารถทำงานชิ้นหนึ่งๆ ให้สำเร็จได้ด้วยตนเอง แต่เมื่องานของตนเองไปรวมกับคนอื่นๆ ก็กลายเป็นงานชิ้นใหญ่ได้ เป็นลักษณะงานแบบขนาน เช่นการปลูกข้าว ที่แต่ละคนก็สามารถปลูกข้าวได้คนละกอ เริ่มตั้งแต่การไถ หว่านกล้า ปักดำ ดูแล ให้น้ำให้ปุ๋ย จนกระทั่งเก็บผลผลิตและชื่นชมกับมัน ได้เพียงคนเดียว แต่เมื่อทุกคนร่วมกันทำงานของตนเอง ก็สามารถทำนาได้เป็นผืนใหญ่

ขณะที่การผลิตแบบอุตสาหกรรม ที่การผลิตแบ่งย่อยออกไป มีลักษณะเป็นอนุกรม แต่ละคนทำเพียงหน้าที่เดียว งานขึ้นต่อกัน งานชิ้นหนึ่งประกอบด้วยงานชิ้นเล็กๆ ของคนหลายคน ภายใต้การบริหารของอีกคนหนึ่ง

ทั้งนี้ไม่ได้หมายถึงว่าวิถีการผลิตแบบเกษตรของไทยมีการร่วมมือกันน้อย การยึดโยงกันของคนในสังคมเกษตร อาศัยการร่วมมือกันทำงานค่อนข้างมาก เพราะยังมีงานขนาดใหญ่ที่ต้องอาศัยแรงงานของคนจำนวนมาก เช่นเมื่อถึงหน้าเก็บเกี่ยว ข้าวในนาจะสุกพร้อมกัน จำเป็นต้องระดมการทำงานแบบขนานใหญ่ คือทำให้เสร็จเป็นผืนๆ ไป จึงเกิดวัฒนธรรมการลงแขกที่ทุกคนมาช่วยกันเก็บเกี่ยวทีละนา

เมื่อแต่ละคนสามารถรับผิดชอบในส่วนของตนเอง อีกทั้งงานของตนเองก็มีผลกระทบในทางลบต่อคนอื่นน้อย วิถีแบบนี้ก็ได้สร้างวัฒนธรรมของการไม่ยึดติดกับเวลาเพียงเล็กน้อยแบบรายชั่วโมง นาที หรือวินาที จึงไม่ต้องพึ่งพานาฬิกา หากยึดโยงกับเวลาตามธรรมชาติและฤดูกาล

ดังนั้นเราจึงมักจะพบว่าคนในสังคมไทยมักไม่ค่อยตรงต่อเวลา นั่นเพราะวัฒนธรรมฐานของเราเป็นฐานสังคมเกษตรที่ไม่ยึดมั่นเรื่องเวลาหยุมหยิมเหมือนวัฒนธรรมอุตสาหกรรมที่เข้ามาภายหลัง

ความเร่งรีบแทบไม่มีประโยชน์ในวิถีแบบเกษตรกรรม เพราะมนุษย์ไม่อาจสั่งการธรรมชาติได้ตามใจ ต่างจากการผลิตแบบอุตสาหกรรมที่มีการสร้างอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ เพื่อให้มนุษย์ควบคุมธรรมชาติให้ได้ และก็เพื่อนำมาควบคุมมนุษย์ด้วยกันอีกทีหนึ่ง ในโรงงานหรือในบริษัท การทำงานไม่ได้ขึ้นกับธรรมชาติหรือฤดูกาล เราประดิษฐ์เครื่องปรับอากาศ ปุ๋ยเคมี ฝนเทียม ยาฆ่าแมลง ฯลฯ เพื่อการควบคุมธรรมชาติให้ตามใจเรา หลังจากเราคิดว่าควบคุมธรรมชาติได้ เรากลับไม่อาจควบคุมความปรารถนาที่จะควบคุมมนุษย์คนอื่นๆ ได้

เราเร็วขึ้นทีละน้อย ควบคุมกันเองมากขึ้นจนกระทั่งสานเป็นวัฒนธรรมแห่งความเร็วภายใต้อุตสาหกรรมนิยม

l ตลาดแบบแบ่งปัน

การเกษตรที่มีจังหวะตามฤดูกาลไม่เอื้อให้เกิดการสะสมได้มากนัก เพราะมันจะเน่าเสียในไม่กี่วัน แม้กระนั้นมนุษย์ก็ยังคงแสวงหาความมั่งคั่งแก่ตนด้วยการค้นคิดวิธีการสั่งสมความมั่งคั่งให้ตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็นโลหะมีค่าต่างๆ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน หรือกระทั่งอำนาจบารมี

อย่างไรก็ตาม วัฒนธรรมเกษตรที่ผลิตผลไม่อาจเก็บได้นานกลับสร้างวัฒนธรรมของการแบ่งปันขึ้นมาในสังคม ดังคำถามที่แพร่หลายในสังคมไทย หากได้ปลามาหนึ่งตัว จะทำอย่างไรให้กินได้นานที่สุด คำตอบคือ เอาไปแกงแล้วแบ่งให้เพื่อนบ้าน คำถามและคำตอบเหล่านี้สะท้อนวัฒนธรรมเกษตรที่ไม่เน้นการเก็บความมั่งคั่งไว้คนเดียว ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลว่ามันเก็บไม่ได้นานหรือเพราะความเชื่อว่าสิ่งที่เราได้มาเป็นการประทานจากธรรมชาติ แต่มันก็บ่มเพาะคนในสังคมให้แบ่งปัน

ถ้าลองเปลี่ยนคำถามเป็น ถ้าเรามีคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง จะทำอย่างไรให้ใช้มันทำประโยชน์ได้นานที่สุด ล่ะ คำตอบจะออกมาอย่างไร?

l วัฒนธรรมอาหาร

อาหารในวัฒนธรรมไทย เป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลจากจีน อินเดียและยุโรปด้วย แต่ก็ปรับให้เข้ากับภูมิประเทศและอากาศ มีอาหารตามฤดูกาล อาหารที่ใช้รักษาโรค และอาหารที่ต้องระวังสำหรับผู้เจ็บไข้ได้ป่วย และผู้มีธาตุเจ้าเรือนต่างกันไป อาหารจึงมีความหลากหลายและแตกต่างกันไปในแต่ละคน

อย่างไรก็ตามอาหารหลักของเรายังคงเน้นไปที่พืชผักตามฤดูกาลและไม่ผ่านการปรุงแต่งมากเกินไป วัฒนธรรมไทยให้ความสำคัญกับอาหารมากจนวิถีชีวิตแต่ละวันต้องใช้เวลาในการหา เตรียมและปรุงอาหารถึงหนึ่งในสี่ของวัน จึงจำเป็นต้องมีผู้รับผิดชอบอย่างเต็มที่ ซึ่งที่ผ่านมาส่วนใหญ่จึงเป็นแม่ที่รับภาระในการปรุงอาหาร ในขณะที่พ่อใช้เวลาส่วนใหญ่ในการหาอาหาร

เมื่ออาหารส่วนใหญ่ต้องหามากินแทบจะวันต่อวัน อาหารจึงมีไว้ยังชีพและแบ่งปันมากกว่าจะใช้เพื่อสะสมหรือค้าขายเอากำไร อาหารจึงสดใหม่ และผลิตอย่างใส่ใจ

ในยุคสมัยที่การเกษตรแบบดั้งเดิมถูกเบียดขับด้วยการเกษตรแบบอุตสาหกรรม ความหมายของอาหารเปลี่ยนไปเป็นสินค้า ดังนั้นมันจึงต้องสะสมได้ ผลิตง่าย ขายง่าย ขนส่งง่าย

ทุกวันนี้เราไม่ได้กินอาหารแต่กิน สินค้า

· วัฒนธรรมนับถือธรรมชาติและพุทธศาสนา

ภายใต้การขึ้นต่อธรรมชาติ แรกเริ่มมนุษย์จึงนับถือธรรมชาติหรือเรียกว่าถือผี (ภายหลังคำว่าผีกลายเป็นสิ่งชั่วร้ายน่ากลัว เมื่อมีความเชื่ออื่นเข้ามาแทนที่) ความเชื่อเรื่องการนับถือธรรมชาติ คือการร่วมกันเป็นชุมชนที่มีความเชื่อและจุดมุ่งหมายเดียวกันคือการมีชีวิตรอดและสงบสุข พิธีกรรมออกมาในรูปของการบูชาธรรมชาติหรือผี ทั้งผีป่า ผีน้ำ ผีนา ผีดิน ผีบ้าน ผีเรือน ผีแถน มีพิธีก่อนทำนาและเก็บเกี่ยว

หรือแม้เมื่อศาสนาพุทธเข้ามา คนไทยก็ยังนำเอาศาสนามาผูกโยงกับวิถีการเกษตรเพื่อยึดโยงคนไว้ร่วมกัน ดังเช่นงานบุญประเพณี ๑๒ เดือนที่แพร่หลายในภาคเหนือ อีสาน และกลาง

พุทธศาสนาให้คุณค่าแก่ความช้า ให้คุณค่าแก่ความสงบ การทำอะไรช้าๆ ซ้ำๆ ทีละอย่าง เป็นวิธีการที่ช่วยให้เราอยู่กับตนเองและโลกได้ละเอียดลึกซึ้งจนกระทั่งทำความเข้าใจกับมันได้ เพื่อให้มีชีวิตที่ปกติสุข ไม่ตกเป็นทาสกิเลสของตน ใช้ชีวิตอย่างสอดคล้องกับธรรมชาติ

แม้ว่าปัจจุบันพุทธศาสนาในไทยจะเสื่อมความหมายในแง่การบอกทิศทางทางจิตวิญญาณไปมาก แต่แง่มุมที่สอดคล้องกับความช้ายังปรากฏอยู่ทั่วไป คนจำนวนมากยังสวดมนต์ก่อนนอน ก่อนกินข้าว ยังเข้าวัดปฏิบัติธรรมยามทุกข์หรือยามต้องการความสงบ

· วัฒนธรรมเปลี่ยนไปแล้ว นั่นแสดงว่ามันเปลี่ยนแปลงได้!

ยุคสมัยเปลี่ยนไป รูปแบบการผลิตเปลี่ยนไป เราอาจคาดหวังให้โลกหมุนกลับไปงดงามดังเดิม นั่นอาจเพราะสิ้นหวังกับอนาคต แต่อดีตนั้นงดงามจริงล่ะหรือ แต่ทั้งหมดนั่นก็ยังไม่ใช่ประเด็น

คำถามที่ไม่ยึดติดกับอดีตหรือรูปแบบน่าจะเป็นคำถามเชิงเป้าหมาย นั่นหมายถึงคำถามที่ว่าตอนนี้เราจะทำอย่างไรให้โลกและชีวิตของเราเต็มไปด้วยสุนทรียภาพ มนุษย์มีโอกาสเติบโตทางจิตวิญญาณ ฯลฯ ซึ่งนั่นหมายถึงมนุษย์ทุกคนต้องมีโอกาสบริโภคได้พอยังชีพ ในขณะที่มนุษย์บางส่วนก็ไม่ต้องร่ำรวยเกินไปจนกระทั่งวุ่นวายกับการบริโภคมากไปจนหลงลืมค้นหาเป้าหมายที่สูงส่งไปกว่าการเสพสุขทางกาม

เราสร้างวัฒนธรรมใหม่ได้ เราสร้างโลกใหม่ได้

สู่การเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรม

หากสมมติฐานของเรามองว่าความ “เร็วเกินไป” ของมนุษย์ปัจจุบันมีเหตุมาจากทั้งตัวมนุษย์เองที่มีกิเลสอยากเอาชนะและอยากเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และมาจากระบบอุตสาหกรรมนิยม ทุนนิยม และบริโภคนิยมแล้ว

หนทางในการปฏิบัติการของเราที่จะคืนจังหวะอันสมดุลให้แก่ชีวิต ก็คงต้องดำเนินการทั้งสองทาง คือดำเนินการที่วิถีชีวิตจิตใจตนเอง และดำเนินการที่ตัวระบบสังคมของเรา

องค์กรต่างๆ ที่สนใจการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม อาทิ กลุ่ม We Change สถาบันต้นกล้า กลุ่มละครมะขามป้อม มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กรีนพีชประเทศไทย และอาศรมวงศ์สนิท กำลังเตรียมการเพื่อรณรงค์ชีวิตช้าลง โดยในช่วงแรกเป็นการร่วมกันทำความเข้าใจกับเนื้อหาของการรณรงค์ จากนั้นก็จะมีการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่ม We Change หนึ่งในผู้ร่วมรณรงค์ได้เสนอแนวทางเพื่อชีวิตช้าลงใน 3 ประเด็นใหญ่คือ

· ขัดขืนและตื่นรู้

ความเร็วอยู่ในหัวเรา ไม่มีใครมาโบยตียามเราช้า แต่เรานั่นแหละที่ผลิตความเร็วเองทุกวัน

ไม่ต้องไปหาจำเลยที่ไหนไกล วิถีชีวิตประจำวันที่เร่งรีบและทำอะไรหลายอย่างในเวลาเดียวกันของเรานั่นแหละที่เป็นตัวการ เราเริ่มสร้างวัฒนธรรมของความช้าได้ที่นี่และเดี๋ยวนี้

เริ่มได้จากการหาเวลาสงบๆ ดื่มชาร้อนๆ มองท้องฟ้า แม่น้ำ แล้วสำรวจตนเองว่าวันๆ หนึ่งเราใช้ชีวิตผิดจังหวะอย่างไร แล้วลองตั้งใจสักหนึ่งวัน เจ็ดวันหรือหนึ่งเดือน หรือทุกๆ วันใดวันหนึ่งของสัปดาห์ที่จะใช้ชีวิตช้าๆ อาจไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงต่อสังคมมากมาย แต่อย่างน้อยเราได้ช้าลง และมีเวลาให้กับการต่อสู้เพื่อจังหวะชีวิตที่เหมาะสมในระดับที่ใหญ่ขึ้นต่อไป

· คืนคุณค่าและปัญญาญาณ

ลองใส่ใจกับกิจกรรมเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวัน เราอาจค้นพบว่าเมื่อเราใส่ใจกับกิจกรรมนั้น เราจะทำมันช้าลง เช่น การกินอาหาร อาบน้ำ เดินทาง อ่านหนังสือ กินกาแฟ ล้างจาน ซักผ้า ขึ้นบันได ฯลฯ เราอาจค้นพบคุณค่าหรือเรื่องราวอ้ศจรรย์บางประการที่แสดงตนตลอดเวลาแต่เราไม่เคยใส่ใจในกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งนั้น

อย่าลืมว่าทำมันทีละอย่าง ใส่ใจและยังไม่ต้องคิดถึงกิจกรรมต่อไป

· สานสร้างความสัมพันธ์

กลุ่ม We Change รับสมัคร หน่วยล่า...ช้า (Slowly Hunter) เพื่อแสดงตนและสร้างเครือข่ายของคนที่ตัดสินใจว่าจะใช้ชีวิตช้าลง เครือข่ายนี้จะมีสมาชิกมากขึ้นเรื่อยๆ

เราจะขยายเครือข่ายการรณรงค์ใช้ชีวิตช้า เพื่อหาจังหวะที่เหมาะสมให้ชีวิตในประเทศไทย ลองดูรายละเอียดที่ www.wechange555.com

นอกจากนี้เรายังจะประสานกับเครือข่ายเพื่อความช้าในต่างประเทศมากขึ้น ทั้งเครือข่ายชีวิตช้า www.slowdownnow.org ที่รณรงค์ให้คนใช้ชีวิตช้าลง ให้เวลากับชีวิตมากขึ้น และเครือข่ายอาหารช้า www.slowfood.com ที่เน้นที่มาของอาหารที่ไม่ใช่อุตสาหกรรมและผลิตอย่างใส่ใจ และเครือข่ายเพื่อชีวิตช้าอื่นๆ อีก เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่มากขึ้นเรื่อยๆ

อย่างไรก็ตาม การรณรงค์ชีวิตช้า ยังคงมีคำถามอีกมากมาย เมื่อมีใครพูดว่าเราควรจะช้าลง เช่น ทุกวันนี้ก็ใช้ชีวิตช้าอยู่แล้ว-ไม่ทันกิน, ใครจะมีเวลาช้าล่ะ ทุกวันนี้แต่ละวันต้องรีบเร่งก็ยังไม่มีเวลาเลย, การใช้ชีวิตช้าเป็นเรื่องของคนร่ำรวยที่นั่งกินนอนกิน คนจนไม่มีเวลาช้าหรอก ฯลฯ

แน่นอนกระแสชีวิตช้าก็มีอยู่สองส่วนเช่นกัน ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องราวของคนมีเงินและคนชั้นกลางที่ปรารถนาชีวิตที่ดีกว่าเดิม และมีเงื่อนไขอำนวย แต่อีกกระแสหนึ่งคือกระแสที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากพอที่จะทำให้ทุกคนไม่ต้องรีบเร่ง รวมทั้งคนยากจนและเกษตรกรที่จะสามารถผลิตอาหารอย่างช้าๆ ตามจังหวะที่ควรเป็นหรือผู้ใช้แรงงานที่ไม่ต้องหามรุ่งหามค่ำ ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่เราต้องร่วมกันสร้าง

เครือข่ายรณรงค์ชีวิตช้าในประเทศไทยจะประสานงานทั้งสองส่วนเพื่อสร้างวัฒนธรรมที่ต่อสู้กับวัฒนธรรมแห่งความเร็วที่ทำร้ายเราอยู่ทุกวันนี้

เมื่อเราช้าลง โลกจะเปลี่ยนแปลง

20 สิงหาคม 50

วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2550

Denny's & The Farmers Diner: Agribusiness Gives Way to Local Food

From Adbusters #49, Sept-Oct 2003

Denny's (corporate headquarters: Spatanburg, South Carolina; annual sales: $30 billion) has long been the major player in America's "casual family dining" business. Other chains, like Applebee's, are gaining ground, but all operate on the same high-volume/low-price cookie-cutter model. Cracks are beginning to show, however. People are tired of eating crappy food, and the marketing execs know it - note the deluge of so-called "healthy alternatives" now on offer, including wraps, salads and fresh fruit. But calories aren't all that people are counting: there is also a growing concern about the cost of industrial food production to everything from our waterways to our sense of community. That's the new bottom line.

Meat: From the commercial feedlots of the southwest USA. Pinpointing the exact source is impossible; ranches were long ago surpassed by "confined animal feeding operations" - factory farms. You can bet the cow was raised on a steady diet of Roundup Ready Corn&153; - America's most chemically treated crop - and treated with Rumensin, Tylosin or similar antibiotics, along with hormones like Revlar to "encourage" rapid development.

Dairy Products: From the "confined dairy operations" of Central Valley, California, where cows are expected to pump out 100 pounds of milk a day. It's made possible with a high=protein diet and injections of bovine growth hormone (rBGH), a substance banned in every country except the US. The milk is shipped cross-country in rolling tanker trucks, burning millions of gallons of fossil fuels each year.

Vegetables: From agri-business suppliers in the California Sunbelt. Each slice of tomato or leaf of lettuce has traveled an average of 1,518 miles on the back of a truck to reach your plate. Then again, it's designed for the rigors of the road: irradiated, genetically modified, treated with chemical preservatives and/or picked green and left to ripen in the box.

French Fries: From the potato processing plants of the northwest USA. Odds are good that the fries arrived via one of McCain's 30 worldwide processing plants (company motto: "One World, One Fry"), which churn out a million pounds of frozen fries an hour. Once known for its diversity, American potato farming has been reduced to a monoculture of Russet Burbank potatoes.


The Farmers Diner, owned and founded by Tod Murphy in Barre, Vermont, has a simple motto: serve local food to local people. It's not just another back-to-the-land dream - it's a bona fide business with first year sales of $550,000. In real-world terms, that's brisk enough trade too keep 174 acres of farmland in production, pay eight farmers $50,000 each and create seven new farm jobs. Over the next five years, Murphy plans to open four new restaurants and a central processing plant in the area and then replicate the pod model in other parts of the country. Turning the high-volume/cheap food dining model on its head, he has created a new market for small farmers and provided 70,000 customers with "rich food for regular folks."


Vegetables: From Cedar Circle Farm, East Thetford, Vermont. It's owned and operated by longtime activists Kate Duesterberg and Will Allen. They bought the farm three years ago and converted it to an organic operation, selling most of their produce at their farm stand.

Dairy Products: From Rock Bottom Farm, Strafford, Vermont. The state has lost over 8,000 dairy farms in four decades since the mid 1950s when factory farms moved in. The second-generation Rock Bottom Farm is run by three brothers - Earl, berry and William Ransom - who ship organic dairy fresh to the diner.

French Fries: From the farms of Peasely, Chappel, Guildhall and Williamstown, Vermont. The Farmer's Diner cuts its fries fresh every day from potatoes grown in the state. They're never pre-cooked or frozen, and the cooks use every part of the potato.

Meat: From Montana Yankee Ranch, Starksboro, Vermont. Monty Adams bought Montana Yankee to get back to traditional pasture-fed cattle ranching after working for years on commercial feedlots. He happily meets the diner's specs: no hormones, no antibiotics and all livestock must have access to outside pastures.




The True Cost of Food

From Adbusters #55, Sept-Oct 2004

New Zealand is 7,500 miles from the Okanagan valley of British Columbia, Canada. So why are BC grocery stores flush with New Zealand apples when perfectly good ones are grown in the Okanagan? In 2002, BC apple exports totalled 77 million pounds, while apple imports from New Zealand and elsewhere ran to 111 million pounds. British Columbians need more apples than they produce, but wouldn’t it make sense to eat the apples their neighbors grow before bringing them in from the other side of the Pacific? What’s more, many of the Okanagan farmers who could have made up the difference have been driven out of the industry by cheap imports. With the flood of foreign apples, those who didn’t qualify for government assistance to upgrade their orchards or shift into different crops have had to tear up trees and sell their land.

Free-market enthusiasts argue that consumers deserve the lowest price, and if New Zealanders can provide better value, good for them. But what is the true cost of shipping an apple from one hemisphere to another? What are the true costs of production, processing, packaging, and transportation with the standard food delivery system as compared to a local one? A 2001 Iowa State University study showed that through the conventional food delivery system, the average apple in that state travels 1,726 miles to get to the consumer. Compared to Iowa-based regional and local systems, the conventional system used far more fuel, and released five to 17 times more carbon dioxide into the atmosphere.

In the US as a whole, food accounts for over 20 percent of all commodity transport, resulting in 120 million tonnes of CO2 emissions every year. Every day, planes, long-haul trucks, and container ships criss-cross the globe to ensure that Western palates are properly satisfied. With the current system, green beans grown in Africa can be picked in the evening, loaded on the overnight flight to Heathrow airport, and on shelves of London greengrocers by 11:00 the next morning. But even the British government recognizes that this is problematic and wants to ensure “that aviation meets the external environmental costs for which it is responsible.” A good start would be taxing aviation fuel, which currently pays a zero rate, that leaves airline travel incredibly cheap compared to its true cost. So the UK Department of Transport commissioned a study of air travel that pegged the environmental costs every time a Boeing 757 takes off at £5,140. How long until that cost is internalized? How cheap would the New Zealand apple be then? And how many apple orchards in the Okanagan could
be saved?

True Cost Burgers

American insurance companies and employer health plan administrators know that obesity costs money. The bill for the average stomach shrinking surgery is $25,000 and every year there are 10 to 12 percent more people eligible for the procedure. Meanwhile, the US Department of Health has determined it takes $120 million to treat obesity annually.

Add that to the cost of treating the thousands of Americans each year who catch E. coli poisoning from hamburgers, thanks to industry shortcuts that result in meat covered with fecal matter and pathogens. Manure doesn’t have to be on meat to cause problems. It also releases smog-forming emissions and contaminates water. In 2000, seven people died in the town of Walkerton, Canada, when farmland runoff polluted the town’s water-supply with E. coli. The subsequent crisis cost at least $64.5 million cad overall and individual households had to spend about $4,000 cad on average. Two years later, agribusiness giant Cargill dumped hog waste into Missouri’s Loutre River, contaminating a five mile stretch and killing 53,000 fish. In the UK, a 2003 report from Essex University calculated that British taxpayers spend up to £2.3 billion every year repairing the damage that industrial farming does to the environment and human health. So what would a Big Mac cost if its true production costs were included?

Mad Cow

Canada’s Agriculture Minister was emphatic: “I want to stress from the beginning this is one cow.” But all it took was one positive test for mad cow disease in May 2003 to send Canada’s beef industry into a tailspin. Export markets were closed off immediately, and by the end of the year, industry analysts calculated the economic cost of the positive test at $3.3 billion cad. Then, just before Christmas, the industry suffered another jolt thanks to a single case of mad cow in the US. By February 2004, Agriculture Department officials in that country told Congress that the epidemic had cost $6 billion. Europeans watching all this must have scoffed at the North American figures. Their mad cow crisis has cost more than $100 billion.

Governments on both sides of the Atlantic have dutifully compensated the farmers and meat packers affected by the outbreak. And they’ve done the same after outbreaks of foot-and-mouth disease and avian flu. So even if meat has never touched your lips, you pay.

Nicholas Klassen

ไม่มีเวลาฝัน

นึกขึ้นได้ว่าเคยแต่งเพลงไว้ เนื้อหาเกี่ยวข้องกับความเร็ว เลยเอามาลงไว้กันลืม

ไม่มีเวลาฝัน

ตื่นแต่เช้า เช้าๆๆๆ
ตื่นแต่เช้าเข้าเรียนทุกวัน
ตื่นแต่เช้าๆๆๆๆ
รีบตื่นแต่เช้าแม้แต่ฝันยังลืม

ได้แต่เรียนๆๆๆๆ
ได้แต่เรียนอ่านเขียนทุกวัน
ได้แต่เรียนๆๆๆๆ
ได้แต่เรียนไม่มีเวลาฝัน

โหนรถเมล์อ่านตำรากวดวิชา เพื่ออะไร
แล้ววัยฝันวันอันเยาว์ หายไปไหน
หรือได้แต่ฝันตามที่ใจใครต้องการ

อยากไปให้พ้นๆๆๆๆ
อยากไปให้พ้นชีวิตที่จำเจ
อยากไปให้ถึงๆๆๆๆ
อยากไปให้ถึงท้องทะเลดวงดาว

อยากจะบิน

School's Out

From Adbusters #57, Jan-Feb 2005

I recently helped a kid who had never been to school get into a college kinesiology program. Shortly into my pitch, the admissions counselor stopped me and said, “She’s 19 right? Everyone over 19 is a mature student and accepted regardless of their academic background. Then it’s just sink or swim.” I paused: “You’re telling me you don’t need high school to get into college here?” “That’s right.”

I’m fond of this story because it underlines the point that a high school diploma – or a university degree for that matter – isn’t essential to pursue a dream career or enjoy future success. And personally, I see the compulsory state schooling paradigm collapsing in on itself. First described by Plato, but never attempted until the 1800s in Prussia and arriving in North America in 1852, compulsory schooling is tightly bound with the rise of the modern nation state. So, in changing how we understand schooling, we are necessarily changing our understanding of social organization and citizenship.

Schools are sites of both social replication and creation: that is to say, they reflect and define how we organize and understand ourselves. If children spend the vast bulk of their lives in anti-democratic institutions where they have little opportunity to make real choices, direct their learning, spend time doing things they value, or take independent initiative, how can we expect anything other than a docile and compliant citizenry?

I think the real question is this: is spending six hours per day, five days a week, ten months a year for twelve years, confined to an institution in groups of thirty the optimal way for children to thrive? If not, then what the hell are we doing?

Yet we can’t just retreat into individualist, everyone for themselves answers. Schools are a social problem that demand social answers and social institutions in their place: we have to build better places for kids and better conceptions of childhood. But there can be no systemic answers. Like Colin Ward said "We need a mass of answers, not mass answers."

Kids grow up right and thrive according to an infinitely complex and constantly shifting response to culture, time, place, predilection, circumstance and thousands of other local and individual factors. It is crazy to attempt to describe what all kids need, or how all kids learn best. We have to respond to the kids in front of us, not the abstract kids of theory: our children, our neighbors, our friends, our community. our community.

Home learning is great and I do think that encouraging everyone to simply drop out of school is excellent advice, but it can only be part of the solution. We need to build new institutions that are commonly available, especially for the least privileged in our neighborhoods. We need to take what is available and use every possible resource.

These places will, and should, be profoundly different from one another: reflecting and recreating the local diversity that economic and cultural globalization is so eager to extinguish. Learning centers, small schools, free schools, community centers, homeschooling can all be part of the answers: the key is locally-controlled, democraticallyrun institutions that respond to the needs of participants, not the reverse.

Let’s look to libraries and community centers and parks for inspiration. Schools would do well to reconstruct themselves with these in mind: genuinely public, voluntary, non-coercive, commonly available for a wide array of uses, and sitting at the heart of healthy community life.

We have to start with the idea that no one wants to grow up to be stupid or ignorant: everyone wants to be smart, competent and skillful. Begin with people’s exuberance and desire to learn, their passions and interests and go from there. Trying to force a person to learn something they don’t care about is futile.

Look to the community and make institutions semi-permeable. We need local institutions: individualist answers fall short. People require places to gather and to generate culture. If we do not pose counter-institutions in opposition to what exists, dominant culture will flow in: TV and shopping, video games and virtual life. Most kids need places to go during the day, and those places have to be building something new. People are capable of so much even with severely limited resources. Let’s free the unbelievable amounts of money and resources that state schools are hoarding/wasting and return them to communities and families.

Matt Hern runs the Purple Thistle Centre and edits Crank magazine. His new book is Field Day: Getting Society Out of School.

Life as Play

From Adbusters #57, Jan-Feb 2005

There are forces in informational capitalism that are undermining the current social contract, argues Scottish musician/theorist Pat Kane. The rise of open networks has led to open source, peer-to-peer networking and file sharing, and a new way of living, he says, in which we live to play, not to work.

Kane says that people – he calls them ‘soulitarians,’ hackers and independent young creatives in IT – are beginning to find the space to realize themselves as creative individuals. He explains: “Given how digitization, networks, computation and mobility both empower us as individuals, yet place us in a much less stable and dynamic world, the ‘work ethic’ seems a woefully cramped and inadequate mentality for these times. Why tie our identities to duty and survival, when our connected technologies compel us to live creatively?”

In The Play Ethic, his self-styled “manifesto for a different way of living,” Kane mixes reportage (on how soulitarians approach jobs as an extra opportunity for passionate play) with a political program (reducing the working week to 30 hours). He examines the idea further on his blog.

Kane’s overall argument is that play (“one of our enduring human capacities, one that explicitly embraces change and possibility”) is a powerful alternative to work, as a measure of human worth and value. A worker “accepts that their public and productive activity will only ever partially express their passions,” says Kane. Instead, players strive to align these two realms.

“Play allows imaginative headroom to imagine what kind of lives we would lead if we eventually constructed our benign, peaceful global system,” he suggests. “The play ethic, at least in the West, is about keeping societies liberal and complex. We need it so that citizens, consumers and producers can have enough consciousness to impede our political elites from doing the kind of harm to the world they’re doing at the moment.”

Kane isn’t indulging in old hippy ideas and doesn’t sentimentalize play. Instead The Play Ethic belongs with other ‘slacktivist’ initiatives like the Italian Slow Movement. It’s about helping individuals and societies to step back from free market frenzy and create new more creative, independent, appropriate ways of living.

Jim McClellan is currently interactive writer-in-residence at the BBC and writes for The Guardian.